เรื่องน่ารู้‼ "ปุ๋ย A B" สำหรับคนอยากลองปลูกผักสลัด Hydroponic และการปรับค่า EC pH ที่เหมาะสม




"ว่าถึงเคมีทีนำมาผสมปุ๋ย A B"
          ปุ๋ยแห้ง Stock A และ B สำหรับปลูกผักแบบ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) จะมีเคมีตัวเดียวที่สามารถ สะสมจนเป็นอันตรายได้ คือ ไนเตรท หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมเกินสัดส่วน แต่ด้วยการปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) จะมีการควบคุมปริมาณของสารละลายทั้ง 2 ชนิด ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า EC Meter อยู่แล้ว ทำให้สามารถควรคุมความเข้มข้นของสารละลายได้

          กลับกันกับคำถามว่า ถ้าปลูกผักแบบ บนดิน สามารถเกิดการสะสมของ ไนเตรท ได้ด้วยใช่หรือไม่ ? ตำตอบคือ "ใช่" เช่นเดียวกัน เพราะว่าวงจร ไนโตรเจน ในดิน คือสารที่มีความสามารถในการเปลี่ยนซากพืช ซากสัตร์ในดิน ให้กลายเป็น แอมโนเนีย ไนเตรท ไนไตย์ และ ฟอสเฟรส ได้เช่นเดียวกัน หากดินนั้นมีธาตุหรือสาร ไนเตรท ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือมากเกินไป

          ดังนั้น ถึงสารละลายของการผสมปุ๋ย A B ที่ใช้ในการปลูกผักโดยใช้น้ำจะเป็น สารเคมีชนิดหนึ่ง แต่ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ก็ยังอยู่ในกลุ่มของ "ผักปลอดสารพิษ" อยู่ เพราะว่าปุ๋ยชนิดนี้ ไม่มี สารเคมีที่เป็นพิษผสมอยู่ ไม่เหมือน ยาฆ่าแมลง หรือ ปุ๋ยที่ผสมสารเคมีอันตราย กลุ่มหลังนี้จะมีสารเคมีรุนแรง เป็นพิษภัยส่งผลทันทีและตกค้างอยู่ ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ




ส่วนผสมของปุ๋ย A B
          ปุ่ย A B คือปุ๋ยเฉพาะสำหรับการปลูก ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) หรือผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน โดยสาเหตุที่ต้องแยก การเก็บเป็น Stock A และ B เพราะว่า เคมีบางตัวเมื่อผสมกันในความเข้มข้นที่สูง อาจทำให้เกิดการตกตะกอนได้ จึงต้องจำแนกแยกออกจากกัน เก็บเป็น 2 กลุ่ม

Stock A ประกอบด้วย
- แคเซียมไนเตรท
- เหล็ก ดีพี
- เหล็ก โล

Stock B ประกอบด้วย
- โปแตสเซียมไนเตรท
- แมกนีเซียม
- โมโนโปแตสเซียม
- จุลธาตุ เสริมต่างๆ

ปัจจุบันสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บร้าน higreenshop สะดวกง่าย สบายดี

ผสมปุ๋ยลงในน้ำแยกเป็นถัง A และถัง B

ผลที่ได้หลังการเขย่าอย่างเมามันส์คือ ปุ๋ย A B แบบนี้ สีเข้มๆคือ A สีเขียวฟ้าๆคือ B

ก่อนจะนำทั้งคู่มาผสมกันในถังน้ำเปล่า ควรหาภาชนะมาตวงแยก และผสมใส่น้ำในปริมาณที่เท่าๆกัน  ตามคำแนะนำจากบรรจุภัณฑ์หรือถามจากร้านขาย ในระหว่างที่กำลังผสมควรเว้นช่วงการเติม เพื่อป้องกันการจับตัวกันเป็นตะกอนของปุ๋ยทั้ง 2 ชนิด ตามล่างนี้ 

เติมปุ๋ยชนิด A ลงไปก่อน ด้วยการตวงใส่แก้ว

คนน้ำให้เกิดการกระจายตัวของปุ๋ยให้ดี

แล้วจึงเติมปุ๋ย B ลงไป ....เอ้าชน เอ๊ย! คนน้ำต่อไป

เมื่อปรับทุกอย่างเรียบร้อย น้ำในถังของเราจะสีประมาณนี้



อัตราส่วนของค่า pH และ EC หลังการผสม
          ค่าความเข้มข้น และ ค่าความเป็นกรดด่างที่พืชต้องการจะแตกต่างกันออกไป ตามชนิดของพืชที่ต้องการจะปลูก ทั้งนี้เราจะรู้ได้ด้วยการใช้เครื่องมือวัดค่าตัวนำไฟฟ้าของสารละลายในน้ำตัวอย่างตามล่างนี้ หากมีค่าใดค่าหนึ่งไม่ตรงตามมาตราฐาน จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผักอย่างน่าเศร้าใจและเสียเวลาในการปลูก ดังนั้นควรระมัดระวังและเข้มงวดเรื่องนี้ให้มาก

ปลูกพืชชนิดไหนก็ใช้ค่า pH และ EC ในน้ำผสมปุ๋ยตามนี้เลย

EC ย่อมาจากคำว่า Electric Conductivity
          หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ สำหรับการตรวจวัดน้ำในระบบ ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหารทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ หรือปุ๋ยน้ำที่เรานำมาผสมนั่นแหละ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำปุ๋ยมาละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านั้นจะแตกตัว จนเกิดเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของปุ๋ยที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำนั่นเอง

          ค่ามาตราฐานสำหรับน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืช ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) จะต้องมีค่าเริ่มต้นก่อนใส่ปุ๋ยไม่เกิน 0.3 ms/cm  หากค่าเกินจะทำให้มีข้อจำกัดในการใส่ธาตุอาหารพืช (ใส่ธาตุอาหารพืชได้น้อยลง) เพราะกังวลว่าค่า EC จะเกินกว่าที่พืชนั้นๆ จะรับได้ จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ 

          น้ำที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ น้ำฝน, น้ำประปาส่วนภูมิภาคและประปานครหลวง ฯลฯ เนื่องจากมีค่า EC ต่ำและเป็นแหล่งน้ำที่ประหยัด  ส่วนน้ำที่ไม่แนะนำมาใช้ในการปลูก เช่น น้ำบาดาล  เนื่องจากส่วนใหญ่น้ำบาดาล จะมีค่า EC สูง แล้วยังมี แคลเซียมคาบอเนท (หินปูน) สาเหตุของความกระด้างในน้ำ ทำให้ปุ๋ยตกตะกอนได้ง่าย

          หากไม่สามารถหาน้ำได้จากแหล่งดังกล่าวจริงอาจจะต้องมีการบำบัด ด้วยวิธีกรองเพื่อลดค่าสารละลายในน้ำลงก่อนเพื่อให้มีค่า EC อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกพืชได้ โดยวิธีการกรองต้องใช้เครื่องกรองที่สามารถกรองสารละลายในน้ำได้ เช่น ระบบกรอง Reverse Osmosis (R.O.) หรือการกรองด้วยระบบกรอง Softener ด้วยสารกรอง Resin เป็นต้น

หน้าตาเครื่องมือวัดค่า EC Meter ใช้วัดค่าคุณภาพปริมาณของปุ๋ยในน้ำ

pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion 
          เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมี จากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดคือทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี และเครื่องมือวัด pH Meter ที่มีขายอยู่มากมายตามร้านขายอุปกรณ์การเกษตรในปัจจุบัน

          สำหรับตัวเลขที่แสดงค่า pH ถ้าพิจารณาอย่างง่ายที่อุณหภูมิห้อง หากวัดแล้วได้ค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารนั้นเป็นกลาง ไม่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบส แต่ถ้ามีค่าวัดออกมาน้อยกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด และถ้ามากกว่า 7 แสดงว่าเป็นเบส ยกตามตัวอย่างด้านล่าง 

ค่า pH ความเป็นกลางที่ดีของน้ำ ในการเพาะปลุกคือ น้ำบริสุทธิ์

เครื่องมือวัดค่า pH Meter ใช้วัดค่าความเป็นกรดด่างและสารเจือปนในน้ำ


เรียบเรียงข้อมูลโดย : เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ
ที่มา :
- เกษตรพอเพียงดอทคอม
- Hydro Farm
th.wikipedia.org ความหมายของผัก ไฮโดรโปนิกส์
- สมาชิกเว็บพันทิพ TheGolfMania
- Polly Lily

higreenshop

ถูกใจอัพเดททุกเรื่องเด็ด
บอกต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนคุณ



About เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ

ขอบคุณทุกเรื่องเด็ด และเรื่องราวดีๆ จากทุกแง่มุมในสังคม เราจะหามาแชร์และส่งต่อให้เพื่อนบนโลกโซเชียลได้รับรู้ รับทราบกันอย่างทั่วถึง คุณเองก็สามารถทำได้ "กดแชร์" เรื่องเด็ดที่คุณชอบเลยสิ!