ผู้เฒ่าผู้แก่มีอาการมือไม้สั่น เป็นเรื่องที่ไม่แปลกและเราคงได้เห็นกันบ่อย เนื่องจากการเสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายและ การควบคุมของระบบประสาทที่เริ่มจะผิดเพี้ยนไป เรียกว่าอายุมากการควบคุมร่างกายอะไรก็ไม่ค่อยจะดี เราจึงมองอาการสั่นเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณทราบหรือไม่ อาการมือสั่นในวัยรุ่นและวัยกลางคน บางครั้งอาจเป็นสัญญานเตือนให้ทราบว่า ร่างกายของเรากำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการเริ่มต้นของก้อนเนื้อร้ายอย่าง "เนื้องอกในสมอง" ก็เป็นได้
"โรคสั่น" ปัจจุบันนี้มีมากกว่า 20 ชนิด และสามารถแบ่งอาการสั่นที่มือได้ 3 กลุ่มใหญ่และสามารถเช็คอาการเบื้องต้นก่อนด้วยวิธีล่างนี้
1. Resting tremor
อาการมือสั่นในขณะอยู่นิ่งๆ ซึ่งเป็นความผิดปกติของสมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) เช่น ในขณะที่เรานั่งดูทีวีหรือนั่งทำงาน และวางมืออีกข้างหนึ่งไว้ ไม่ได้ทำอะไร ก็จะมีอาการสั่น ซึ่งอาการสั่นที่เกิดขึ้นเจ้าตัวอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป แต่คนรอบข้างจะสังเกตเห็นได้ และเมื่อตัวเองรู้สึกตัวว่ามือสั่น อาการนั้นก็จะหายไป อาการมือสั่นขณะอยู่นิ่งมักพบได้ไม่บ่อยนัก
วิธีเช็คอาการง่ายๆ โดยวางข้อมือคว่ำ-หงายไว้นิ่งๆ
อีกวิธีคือการสำรวจอาการกระตุกเกร็งบนเส้นประสาทที่ฝ่ามือ
2. Postural tremor
อาการมือสั่นในขณะรับน้ำหนัก หรือการทำกิจกรรมต้านแรงโน้มถ่วงโลก เช่น การยกแขน ยื่นมือแบไปข้างหน้า
วิธีเช็คดูอาการสั่นแบบต้านแรงโน้มถ่วงโลก
อีกวิธีคือการยื่นแขนออก แล้วให้ผู้อื่นช่วยเช็คการการกระตุกเกร็งที่ฝ่ามือ
3. Intention tremor
อาการมือสั่นในขณะที่ทำกิจกรรม มักเกิดจากการผิดปกติของสมองน้อยหรือก้านสมอง จะมีอาการสั่นเมื่อทำกิจกรรม เช่น การตักอาหารเข้าปาก เขียหนังสือ ทำอะไรที่ต้องใช้ความแม่นยำกับงานชิ้นเล็ก อย่างการสนเข็ม ยิ่งโดยเฉพาะในขณะขับรถซึ่งเป็นอันตรายมาก เป็นต้น
วิธีเช็คดูอาการสั่นที่เกิดจากก้านสมอง
การถือแก้วน้ำ หรือจานรองแก้วกาแฟใส่น้ำ เพื่อดูน้ำสั่นหรือเสียงแก้วกระทบกับจานรอง
อาการสั่นที่เกิดขึ้นข้างต้น อาจจะไม่ได้เป็นโรคเสมอไป อย่างอาการสั่นขณะทำกิจกรรมหรือขณะเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงโลกนั้น อาจเกิดจากภาวะร่างกาย อย่างการอดนอน อดอาหาร ดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน หรือจากการรับประทานยาบางชนิด เมื่อรู้สึกตื่นเต้น เหนื่อย หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะทางร่างกายที่กระตุ้นให้เกิดอาการสั่นขึ้น ซึ่งทางแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรค ตรงนี้สบายใจได้ อาการจะสงบลงเมื่อสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นหายไปนั่นเอง
Essential tremor (ET)
เป็นโรคสั่นที่พบบ่อยที่สุดในโลก ที่กรณีนี้เรียกว่า โรคสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือโรคสั่นอีที พบได้ 14 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ผู้ป่วยสามารถเห็นอาการสั่นของตนเองได้ชัดเจน เนื่องจากเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรม เช่น เขียนหนังสือ อาการสั่นอาจจะเกิดขึ้นที่มือ ศีรษะ ขา และเสียงได้เช่นกัน โรคสั่นประเภทนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการสั่นให้บรรเทาเบาลงได้ ปัจจุบันนี้ยาที่ตอบสนองทำให้อาการสั่นลดลงได้คือ ยารักษาความดันชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้อาการดีขึ้น 70-80 % เลยทีเดียว ยาแก้ปวดปลายประสาท และยากันชักบางชนิด เป็นต้น อาการสั่นแบบนี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้และเมื่ออายุมากขึ้นอาการสั่นจะมีความรุนแรงขึ้นอีกด้วย
โดยเฉพาะผู้ป่วย โรคพาร์กินสัน ก็จะมีอาการสั่นพบได้ 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และอาการสั่นมักเกิดการสั่นในขณะที่อยู่นิ่งเสียมากกว่า นอกจากนี้ผู้ป่วยพาร์กินสันจะต้องมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น เคลื่อนไหวช้า อากาแข็งเกร็ง อาการทรงตัวไม่มั่นคง ซึ่งเวลาเดินจะเดินซอยเท้าถี่ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า และก้าวขาไม่ออกเหมือนเท้าติดกับพื้น
อาการมือสั่นในวัยรุ่นและวัยกลางคน
เนื่องจากอาการสั่นนั้นอาจจะเป็นอาการของโรคหลายประเภท แต่ในบางกรณีอาจเป็นโรคกล้ามเนื้อเกร็ง หรือเป็นเนื้องอกในสมองก็เป็นไปได้ เมื่อพบว่าตนเองมีอาการสั่นควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคจะดีที่สุด จะรักษาได้ทันเวลา
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ
ขอบคุณที่มาข้อมูล :
ศูนย์โรคระบบประสาท-โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ถูกใจอัพเดททุกเรื่องเด็ด
บอกต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนคุณ