แชร์ให้รุ่นหลานดู‼ คุณยายสอนท่อง "ก เอ๋ย ก ไก่" จากผู้ใช้ภาษาไทยโบราณ คนสุดท้าย‼






"หากเมื่อสิ้นเสียงร้อง" เสียงท่องอาขยานของคุณยาย หญิงวัยชราอายุกว่า 90 ปี อาจหมายถึง "สิ้นยุค" ของคนที่เคยใช้เคยรู้จัก ภาษาไทยสมัยโบราณ แบบดั้งเดิมเลยก็ว่าได้ ที่ถึงแม้จะผ่านกาลเวลามาแล้วถึง 80 กว่าปี แต่คุณยายท่านนี้ก็ยังสามารถขับขานท่อง "ก เอ๋ย ก ไก่" เหมือนเมื่อครั้งในสมัยอยู่ในห้องเรียน ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานฟังได้อย่างถูกต้องชัดเจน


"บันทึกภาพประวัติศาตร์" ด้วยความยาวคลิปหนึ่งนาทีกว่านี้ คือภาพเสียงจากปากของคุณยาย ผู้ใช้ภาษาไทยสมัยโบราณคนสุดท้าย ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ควรค่าต่อการแชร์และบอกเล่าสืบต่อกันไป แก่รุ่นลูกรุ่นหลาน อย่าปล่อยให้เสียงของคุณยายสูญหายไปกับกาลเวลา เหมือนดั่งเช่นสมบัติทางวัฒนธรรมอื่นๆที่ไร้ผู้สืบต่อจนน่าใจหาย

เนื้อร้อง
สีแดง ก เอ๋ย ก ไก่ แบบดั้งเดิมสมัยโบราณ
สีดำ ก เอ๋ย ก ไก่ แบบปัจจุบัน

เอ๋ย ก. ไก่ | ก เอ๋ย ก ไก่
ไข่มาหา | ข ไข่ อยู่ในเล้า
ฃวดน้องชาย | ฃ ขวด ของเรา
ควายเข้ามา | ค ควาย เข้านา
ฅนโสภา | ฅ คน ขึงขัง 
เดินหน้า ระฆัง | ฆ ระฆัง ข้างฝา 
งูใจหาญ | ง งู ใจกล้า 
จานจริงจัง | จ จาน ใช้ดี
ฉิ่งตีดัง | ฉ ฉิ่ง ตีดัง 
ระวัง ช้าง | ช ช้าง วิ่งหนี 
เดินเซ่อ | ซ โซ่ ล่ามที
เฌอริมทาง | ฌ เฌอ คู่กัน
หญิงเอวบาง | ญ หญิง โสภา
เคียงข้าง ชฎา | ฎ ชฎา สวมพลัน
ปฏักโวหาร | ฏ ปฏัก หุนหัน
ฐานถามหา | ฐ ฐาน เข้ามารอง
มณโฑโสภา | ฑ นางมณโฑ หน้าขาว
เรียกหา ผู้เฒ่า | ฒ ผู้เฒ่า เดินย่อง
เณรเล็กๆ | ณ เณร ไม่มอง
เด็กขี้เซา | ด เด็ก ต้องนิมนต์
สอพลอ เต่า | ต เต่า หลังตุง
พวกเรา ถุง | ถ ถุง แบกขน
( ทหาร ยายไม่เอา 555) | ท ทหารอดทน
ธงนกกระทุง | ธ ธง คนนิยม
หนูดูยุ่ง | น หนู ขวักไขว่
มุงบ้าน ใบไม้ | บ ใบไม้ ทับถม
ปลาขี้หึง | ป ปลา ตากลม
ผึ้งร้องไห้ | ผ ผึ้ง ทำรัง
ฝาชอบใจ | ฝ ฝา ทนทาน
ยกให้ พาน | พ พาน วางตั้ง
ฟันหน้าเศร้า | ฟ ฟัน สะอาดจัง
สำเภากล้าหาญ | ภ สำเภา กางใบ
ม้าตาลาน | ม ม้า คึกคัก
รำคาญ ยักษ์ | ย ยักษ์ เขี้ยวใหญ่
เรือรุ่งริ่ง | ร เรือพายไป
ลิงจับหลัก | ล ลิง ไต่ราว
แหวนแสนรัก | ว แหวน ลงยา
ไม่พัก ศาลา | ศ ศาลา เงียบเหงา
ฤๅษีมีเนื้อ | ษ ฤาษี หนวดยาว
เสือรีบมา | ส เสือ ดาวคะนอง
หีบใส่ผ้า | ห หีบ ใส่ผ้า
ไม่เห็นหน้า มณี | ฬ จุฬา ท่าผยอง
โอ่งดูถูก | อ อ่าง เนืองนอง
นกฮูกหน้าผี | ฮ นกฮูก ตาโต

คุณยาย ยิ้มร่าอารมณ์ดีต้อนรับลูกหลาน

สามารถท่อง ก ไก่ - ฮ นกฮูกได้อย่างชัดเจนแม่นยำ

ริ้วรอยของผู้เฒ่าวัย 90 ปี ผู้ใช้ภาษาไทยโบราณ สมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การสืบต่อ


"ลายสือไทย" เป็นชื่อเรียกอักษรไทยที่เริ่มใช้ครั้งแรกในอาณาจักรสุโขทัยราวปีพุทธศักราช 1826 หรือกว่า 700 ปีมาแล้ว โดย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ขึ้น หลังจากก่อนหน้าที่เราใช้ตัวอักษรลอกเลียนแบบจากมอญและอักษรขอมหวัดมากว่าพันปี ซึ่งตัวอักษร ลายสือไทย ในยุคแรกเริ่มนั้นยังได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและเขมรอยู่บ้าง ก่อนถูกปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในราวปีพุทธศักราช 1900 ในยุคสมัย พญาฦๅไท และแก้ไขอีกครั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้งราวปีพุทธศักราช 2223 ในยุคกรุงศรีอยุธยาสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจึงใช้ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

แม้บางอักษรจะไม่ตรงกัน แต่ก็พอมองออกว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

คำบางคำของภาษาเขมรทั้ง 2 ชนิดเมื่อเทียบกับภาษาไทย

รูปแบบอักษรพยัญชนะ-สระ 
ยุคสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหง 
(พ.ศ. ๑๘๓๕)

รูปแบบอักษรพยัญชนะ-สระ 
ยุคสุโขทัย สมัยพญาฦๅไท 
(พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐)

รูปแบบอักษรพยัญชนะ-สระ ยุคกรุงศรีอยุธยา
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
(พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓)

"อักษรไทยยุคปัจจุบัน" สำหรับที่มาของเนื้อร้องและท่วงทำนองแต่ละตัวอักษรนั้น ถูกแฝงไว้ด้วยความหมายที่ให้แง่คิดดีๆ เพื่อปลูกฝังให้กับเด็กๆ และคนไทยได้คิดตามดังนี้

ก.ไก่ เป็นสัตว์ตื่นเช้าที่สุด เลยให้มาเป็นอักษร ตัวแรก เพื่อเตือนให้คนไทย ขยันขันแข็ง

ข.ไข่ เป็นดอกผลของ ไก่ แต่จะมีความเปราะบาง ต้องทะนุถนอมให้ดีดี อย่าปล่อยทิ้งละเลยสังคม

ฃ.ฃวด เป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่ เตือนไว้ว่าแม้จะดื่มกิน ให้มีสติไว้มิฉะนั้น อาจมีสิ่งใด แตกหักได้

ค.ควาย ฅ.ฅน เป็นวิถีชีวิต ของคนไทยการอยู่ร่วมกัน ระหว่าง ฅน และธรรมชาติ โดยให้ ฅน มาทีหลัง ควาย คือโง่มาก่อนฉลาด อย่าอวดความฉลาดหากยังไม่รู้จักว่าอะไรคือความโง่ซะก่อน

ฆ.ระฆัง ให้หมั่นประชุมเป็นนิตย์ อย่าได้ ละเลย การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ง.งู ต้องกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงความคิดเห็น

จ.จาน ต้องรู้จัก การอาสาเจือจาน เข้าทำนอง จ.จานใช้ดี

ฉ.ฉิ่ง ตีดัง ช.ช้าง วิ่งหนี ให้รู้จักการใช้การทำงานเล็กๆ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ในวงกว้างโดยไม่ต้องคิดการณ์ใหญ่

ซ.โซ่ ล่ามที หากสังคมเตลิด จากการกระทำใดใดให้รู้จักยับยั้งเอาไว้ด้วยขนบธรรมเนียมบ้าง

ฌ.เฌอ คู่กัน ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราระหว่าง คน และธรรมชาติ

ญ.หญิง โสภา ฑ.มณโฑ หน้าขาว บอกใบ้ให้เห็นว่าสตรี เป็นเพศที่รักนวลสงวนตัว รักสวยงาม ต้องเอาใจใส่ให้มาก อย่าได้ละเลยลืมเลือน

ฎ.ชฎา สวมพลัน เป็นแง่คิดให้เห็นถึงยศถาบรรดาศักดิ์ ว่า ไม่จีรังครับคล้ายๆกับหัวโขน

ฏ.ปฏัก และ ฐ.ฐาน เป็นอักษร คู่กันที่จะทำงานอะไร ที่ฉับไว เที่ยงตรงต้องมีรากฐานหรือมีเหตุผลรองรับ อย่างชัดเจนมั่นคง

ฒ.ผู้เฒ่า เดินย่อง เป็นการสะท้อน ว่าผู้หลักผู้ใหญ่จะทำอะไรต้องระมัดระวังให้ถี่ถ้วน อย่างโผงผาง

ณ.เณร ไม่มอง ด.เด็ก ต้องนิมนต์ เป็นอักษรคู่กันแทนการเปรียบเทียบ ๒ สถาบัน ระหว่างศาสนาและ ฆราวาส ว่า เมื่อพระท่านมองข้ามสิ่งใดละเลยสิ่งใด ต้องช่วยกันเตือนได้ไม่ใช่ละเลยไปหมด

ต.เต่า หลังตุง ถ.ถุง แบกหาม เป็นอักษรคู่เช่นกันที่เปรียบว่า ทั้งหมดมีหน้าที่ของตัวและต้องทำให้ดีทีสุด ตามสภาพ ที่มีและเป็นอยู่

ท.ทหาร อดทน นี่ชัดเจน ว่า แทน ข้าราชการ ว่าต้องมีน้ำอดน้ำทนทำงานไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยเพื่อชาติ

ธ.ธง คนนิยม เป็นภาพสะท้อนให้คนรักชาติบ้านเมืองครับ ให้เห็นแก่ประโยชน์ของชาติอันดับแรกเลย

น.หนู ขวักไขว่ สะท้อนภาพถึงประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและต้องรู้จักออกหากินช่วยตัวเอง

บ.ใบไม้ ทับถม สะท้อนถึงคติธรรม ที่ไม่ว่าอยู่สูงสุดแค่ไหนก็ย่อมมีวันร่วงโรย

ป.ปลา ตากลม หมายถึงสร้างความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสรรพอาหารให้สมบูรณ์ในทุกที่ สอดคล้องกับประโยคที่บอกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

ผ.ผึ้ง ทำรัง ให้รู้จักรักสามัคคีไม่บ่อนทำลายชาติบ้านเมือง มีความเป็นปึกแผ่นไปในทิศทางเดียวกัน

ฝ.ฝา ทนทาน ให้รู้จักต้านทานปัญหาและโรคภัย ที่จะสร้างความเดือดร้อนจากทั้งภายในและภายนอก

พ.พาน วางตั้ง สะท้อนถึงความมีหลักการ ยึดหลักกฎหมายบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง มากกว่าการตัดสินใจด้วยภาวะอารมณ์

ฟ.ฟัน สะอาดจัง หมายถึงการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมโลกในยุคใหม่

ภ.สำเภา กางใบ สะท้อนว่า หากจะค้าขายไกลๆต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์ต่างๆ

ม.ม้า คึกคัก ทำตนให้กระฉับกระเฉง แข็งแรงอยู่ตลอด

ย.ยักษ์ เขี้ยวใหญ่ ให้รู้จักอ่อนน้อมเคารพผู้อาวุโสกว่า ทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ

ร.เรือ, ล.ลิง, ว.แหวน เป็นอักษรชุดสามตัว เรียง ที่มาสะท้อนถึงวิถี ชีวิตของคนไทยที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ น้ำ สัตว์ และการฝีมือ ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ ของชาติ

ศ.ศาลาษ.ฤาษีส.เสือ สามอักษรนี้เป็นภาคตัวแทนของอุปนิสัยใจคอของคนไทยว่า โอบอ้อมอารี(ศ.) รักสงบ(ษ.) แต่ใจนักเลง (ส.)

ห.หีบ ใส่ผ้า สะท้อนถึง ความมีจารีตประเพณีอันดีงาน และความรู้จักมัธยัสถ์อดออม

ฬ.จุฬา ท่าผยอง สะท้อนว่า ริจะเป็นผู้ปกครองริจะอยู่เหนือคนอื่น ต้องต้านทานอุปสรรคนานาได้คล้ายกับว่าว จะขึ้นสูงต้องต้านแรงลมได้

อ.อ่าง เนืองนอง เป็นสัญลักษณ์ ย้ำว่าคนไทย ต้องมีจิตคิดเพื่อคนอื่นเสมอก่อนคิดเพื่อตัว

ฮ.นกฮูก นั้นสื่อสะท้อนว่าคนไทยขยันตั้งแต่เช้า(ไก่)ยันค่ำ(นกฮูก) และยังเป็นสัตว์ที่ตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา

ทีมงานเรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ หวังใจว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับสำหรับเพื่อนๆ นักอ่านทุกท่าน ได้ช่วยกันส่งเสริม และแบ่งปันความเป็นมาของภาษาของเราต่อเพื่อนๆ น้องๆ ให้มีใจรักษ์ภาษาไทยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม


เรียบเรียงข้อมูลโดย : เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ
ขอบคุณที่มาภาพและข้อมูล :
- YouTube/Freedom
- วิกิพีเดีย/อักษรไทย
- ศูนย์มานุษย์วิทยาสิรินธร


ถูกใจอัพเดททุกเรื่องเด็ด
บอกต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนคุณ


About เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ

ขอบคุณทุกเรื่องเด็ด และเรื่องราวดีๆ จากทุกแง่มุมในสังคม เราจะหามาแชร์และส่งต่อให้เพื่อนบนโลกโซเชียลได้รับรู้ รับทราบกันอย่างทั่วถึง คุณเองก็สามารถทำได้ "กดแชร์" เรื่องเด็ดที่คุณชอบเลยสิ!