"จริงอยู่ที่ว่าลดทุนกำไรก็เพิ่ม" โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตจากภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ที่ยังคงต้องใช้สารเคมีอันตรายจำนวนมากในการควบคุมผลผลิต และตกค้างในสินค้าพืชและผักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันเป็นต้นเหตุของการสะสมสารก่อโรคมะเร็ง
"มาตราฐานการรับรองที่อ่อนแอ" จากการสำรวจพบผักและผลไม้ตรา Q มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด โดยตรารับรอง ออร์แกนิคไทยแลนด์ ของ กระทรวงเกษตร เจอสารเคมีตกค้างถึง 1 ใน 4 และในขณะเดียวกันผักและผลไม้ที่ขายในห้างฯชื่อดังต่างๆ ก็ยังไม่ได้ดีกว่าตลาดทั่วไป ซึ่งควรปฏิรูปการให้ตรารับรองดังกล่าวและควรติดตามผลการดำเนินการของห้างค้าปลีก
นี่คือรายชื่อผักผลไม้ปนเปื้อน ตามรายงานสำรวจประจำปี 2559 ตรวจพบสารเคมีเป็นพิษตกตกค้างถึง 66 ชนิด ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าผักผลไม้ปนเปื้อนพวกนี้มีวางขายอยู่ตามตลาดใหญ่ๆและในห้างฯชื่อดัง
ผักไทยปลอดสารพิษแทบไม่เป็นที่นิยม เพราะราคากลไกของตลาดไม่เอื้อ
ภาพเปรียบเทียบการตรวจเมื่อปี 2557
ผลไม้ที่เรากินกันหลักๆ พบแทบทุกชนิด
ความจริงอันเจ็บปวด ที่คนไทยลืมเฝ้าระวัง
มาตราฐานความปลอดภัยอยู่ตรงจุดไหน
"ไทยแพน (Thai-Pan)" องค์กรเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังแจ้งว่ามีผลการตรวจยาฆ่าแมลงในเลือด ที่ดำเนินการตรวจให้ประชาชนที่มาร่วมงาน มหกรรมอาหารและสุขภาพวิถีไทย โดยเจาะเลือดประชาชนเพื่อตรวจหาสารเคมีประเภทยาฆ่าแมลง ปนเปื้อน 2 กลุ่ม คือ คาร์บอเนต และออร์แกโนฟอสเฟต ซึ่งพบว่า ในจำนวนประชาชนที่มาตรวจ 963 คน เกินกว่าครึ่งหรือ ร้อยละ 53.37 เสี่ยงจากสารเคมีตกค้าง, ร้อยละ 13.81 มีสารตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย, ร้อยละ 31.67 มีสารเคมีตกค้างระดับที่ปลอดภัย และมีเพียงร้อยละ 1.14 เท่านั้นที่พบว่าปกติ
"แม้สารเคมีประเภทนี้" ร่างกายจะสามารถขับออกมาได้ด้วยตัวเอง แต่การหลีกเลี่ยง และเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมีความสำคัญ เพราะผู้บริโภคไม่ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเอง โดยเฉพาะการบริโภคผัก ผลไม้ ที่มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลงตั้งแต่ต้นทางการผลิตในปริมาณสูง แล้วเข้าไปสะสมอยู่ในเลือดและส่วนต่างๆของร่างกาย จนเรียกได้ว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะโรคมะเร็งมากกว่าเกษตรกรผู้ผลิตเสียอีก
"แผ่นดินอาบยาพิษ" เหมือนกับว่าเราพยายามดิ้นรนเพื่อหารายได้ให้มากขึ้นเพื่อนำเงินมารักษาโรคมะเร็ง แต่ตัวมะเร็งวิ่งเร็วกว่ารายได้ ถ้าอย่างนี้เราไม่มีทางเอาชนะมะเร็งได้เลย ในเมื่อมีการใช้สารเคมีและปนเปื้อนจนมาถึงปากท้องของผู้บริโภคกันอย่างทั่วผืนดินไทย จนติดอันดับโลกแบบนี้ มันก็คล้ายกับ การเอายาพิษมากรอกปากคนไทยกันเอง อย่างไรอย่างนั้นเลย
สารกำจัดวัชพืช พบ 1 ชนิด
สารกำจัดไร พบ 2 ชนิด
สารป้องกันและกำจัดโรคพืช พบ 23 ชนิด
สารกำจัดแมลง พบ 40 ชนิด
1) กลุ่มคาร์บาเมต มี 5 ชนิด
2) กลุ่มออร์แกโนคลอรีน มี 1ชนิด
3) กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต มี 9 ชนิด
4) กลุ่มไพรีทรอยด์ มี 6 ชนิด
5) กลุ่ม neonicotinoid มี 5 ชนิด
สารเคมีเป็นพิษที่ต้องไม่พบและไม่ควรพบแต่ก็ยังสุ่มตรวจเจอ
**Thai-PAN คือองค์กรเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือในชื่อเต็มว่า Thailand Pesticide Alert Network ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ
ที่มา : thaipan.org เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
กดถูกใจเพจเพื่อติดตามอัพเดททุกเรื่องเด็ด
บอกต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนคุณ