อาชีพสุดสโลว์ไลฟ์ เลี้ยง"หอยทาก" รีดเมือกขายสร้างรายได้กว่า 30,000 บาทต่อเดือน รับซื้อลิตรละ 15,000 บาท




"หอยทาก" สัตว์ชนิดหนึ่งที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันแทบจะทุกที่ในประเทศไทย แล้วใครจะรู้หอยทากที่เราเห็นกระดืบๆ จะมีคนสร้างนวัตกรรมนำเมือกของมัน ไปผลิตเป็นเซรั่ม เป็นสารบำรุงผิว จนนิยมไปทั่วโลก แล้วหากเราจะเลี้ยงมันเพื่อสร้างเป็นอาชีพบ้าง ต้องทำอย่างไร แล้วต้องเอาอะไรให้มันกินอะไรเป็นอาหารบ้าง เรามาทำความรู้จักหอยทากกันให้มากขึ้นได้เลย


หอยทากในบ้านเรา มีหลายสายพันธุ์ และหนึ่งในสายพันธุ์นั้นมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่แอฟริกา ชื่อพันธุ์ "Achatina fulica" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อาช่า" หอยทากสายพันธุ์นี้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นนำเข้ามากินเป็นอาหารของกองทัพ พอหลังจากสงครามจบลงก็ได้ทิ้งหอยทากนี้ให้อยู่ในระบบนิเวศน์ของบ้านเรา

หอยทากอาช่า เป็นหอยทากที่สามารถวางไข่ได้ทุกตัว (มี 2 เพศในตัวเดียวกัน) แต่ละตัววางไข่ครั้งละ 1,000 ฟอง แล้วโอกาสรอดเป็นตัวหอยทากสูงถึง 50% เติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในเขตร้อนชื้นอย่างเมืองไทย อินเดีย อินโดนีเซีย ฯลฯ อาหารของหอยอาช่าคือ "ใบไม้" ใช่แล้วใบไม้ธรรมดาๆ ทั่วไปนี่แหละ ในบ้านเรามันสามารถกินเป็นอาหารได้ 100 กว่าชนิด รวมทั้งข้าว ผิวเปลือกไม้ พืชผักต่างๆ ของเกษตรกร ยุคหนึ่งในอดีตมันยังเคยทำความเสียหายให้พืชผักต่างๆ เสียหายไปถึงปีละ 1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว



เมื่อก่อนมีแต่คนรังเกียจ พบหอยทากที่ไหนส่วนใหญ่ก็มักจะเขี่ยทำลายทิ้งที่นั่น แต่เมื่อรู้ว่าเมือกหอยทากมีประโยชน์ นำมาผลิตเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางชั้นเยี่ยมได้ จึงทำให้หอยทาก…สัตว์โลกวิถี "สโลว์ไลฟ์" สายพันธุ์นี้กลายเป็นที่สนใจให้ชาวบ้านหลายพื้นที่หลายประเทศหันมาเลี้ยงเป็นอาชีพ


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศึกษาพบว่า หลังรีดเมือกออกมาแล้วนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ เมือกหอยทากมีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย มีโปรทีนเปปไทน์ ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ลดริ้วรอย ช่วยให้รอยแผลสิวหายเร็ว ประกอบกับวงการเครื่องสำอางมีความต้องการสูง ในปี 2559 "ครูเรือนใจ อิศรางกูร ณ อยุธยา" สมาชิกบริษัท อาช่าไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้มาส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงหอยทากเป็นอาชีพเสริม พร้อมรับซื้อเมือกหอยทากราคาลิตรละ 15,000 บาท

วิธีการเลี้ยงหอยทาก เป็นอะไรที่ลงทุนไม่มาก ไม่ต้องอาศัยอะไรที่เป็นพิเศษไปกว่า "สภาพแวดล้อมปกติ" ที่เราเห็นหอยทากเดินไปเดินมานั่นแหละ หลังจากได้ทดลองเลี้ยงหอยทากกันมานานประมาณ 8 เดือน ก็พบว่าวิธีการเลี้ยงหอยทากแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทำกรงให้หอยทากอยู่กับดิน
2. แบบกรงยกสูงจากพื้น
3. แบบท่อซีเมนต์




เนื่องจากหอยทาก เป็นสัตว์ที่กินพืชได้มากมายหลายชนิด อาหารหอยทากจึงไม่ใช่ของหายาก แล้วแต่เทคนิคการเลี้ยงของแต่ละคน แต่เน้นว่าพืชผักที่เอามาให้หอยทากกินนั้นจะต้อง "ไม่มีสารเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง" ควรเป็นผักที่ปลูกเองเพื่อใช้เลี้ยงหอยทาก พื้นที่จำนวนไม่มากก็สามารถเลี้ยงหอยทากได้หลายพันตัวแล้ว


การเพาะเลี้ยงหอยทาก เพื่อจำหน่ายต้องเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก นอกจากให้กินผักปลอดสารพิษหรือผักออร์แกนิกส์ปลูกเองแล้ว เมื่อได้หอยทากจากธรรมชาติที่รับซื้อจากชาวบ้าน ต้องนำมาทำความสะอาดล้างตัวหอยทาก ให้กิน "กระดาษทิซซู่" ในช่วงแรกก่อน เพื่อเป็นการดีทอกซ์ภายในให้หอยทาก ก่อนจะนำหอยทากเข้ากรงเลี้ยงที่จัดไว้


การเก็บเมือกของหอยทาก เป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับเกษตรกรไทย แต่ได้รับความรู้จาก "อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ ชำนาญปืน" และ "อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ เอโกบล" คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาแนะนำวิธีการเก็บเมือกหอยทาก ด้วยการใช้น้ำพ่นบริเวณหลังคอหอยทาก ถ้าหากหอยทากหดเข้าไปในกระดองก็พ่นน้ำเข้าไปบริเวณปากกระดอง แต่ละตัวใช้เวลาประมาณ 1 นาที เป็นวิธีการเก็บเมือกหอยทากตามมาตรฐานสากลที่ใช้ทั่วไปในยุโรป และหอยทกก็จะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ปกติ จากนั้นแล้วต้องนำเมือกที่ได้เข้าแช่แข็งในช่องฟรีซทันที การเก็บเมือกก็จำเป็นต้องใส่ถุงมือ-สวมหมวก-หน้ากาก เพื่อให้เมือกที่ได้ไม่มีสิ่งเจือปน



หอยทากที่เลี้ยงเป็นอย่างดี จะสามารถวางไข่ได้จำนวนมาก และโอกาสรอดค่อนข้างสูงกว่าหอยทากในธรรมชาติ แต่ละครั้งหอยทากวางไข่ประมาณ 1,000 ฟอง และยังวางไข่ได้ทุกตัว เพียงไม่นานไข่หอยทากก็จะโตเต็มวัย การเริ่มต้นเลี้ยงหอยทากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยทากมือใหม่ ควรจะประกาศหาซื้อหอยทากจากชาวบ้าน ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ในช่วงแรกจึงเกิดการกระจายรายได้ให้ชาวบ้าน และเป็นการกำจัดศัตรูพืชได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย ทุกวันนี้มีคนหันมาทำฟาร์มหอยทากจำนวนเพียง 70 ราย ในจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี


"ธันยพร ชินคชบาล" ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หนึ่งในเกษตรกรรุ่นบุกเบิกในการเลี้ยงหอยทาก ได้ทำการทดลองเลี้ยงหอยทากเนื่องจากบริษัทเอเดน ขอให้ช่วยแนะนำอาชีพเลี้ยงหอยทากให้เกษตรกร "…แต่การจะแนะนำคนอื่นได้ ตนเองต้องลองทำให้เห็นผลก่อน…" คุณธันยพร กล่าว พร้อมกับเปิดเผยฟาร์มหอยทากที่สร้างติดกับพื้นเหมือนเล้าไก่ มีหอยทากจำนวน 3,000 ตัว ด้วยเงินลงทุนในช่วงแรก 40,000 บาท ตอนนี้เก็บเมือกหอยทากส่งขายมีรายได้รวม 100,000 บาทโดยประมาณ

ในแต่ละเดือน ถ้าอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ หอยทากแต่ละตัวจะให้เมือกเฉลี่ยคิดเป็นเงินได้ตัวละ 10 บาท ในบางเดือนที่หอยทากให้เมือกเต็มที่ คุณธันยพร จึงมีรายได้สูงถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว ส่วนอาหารที่ใช้ให้ถั่วงอกนั้น คุณธันยพร ใช้วิธีการเพาะถั่วเขียวเพื่อน้ำเอา "ต้นถั่วงอก" ไปเป็นอาหารหอยทาก แต่ละเดือนต้นทุนค่าถั่วงอกประมาณ 2,000 บาท


สำหรับคนที่สนใจเซรั่มอาช่า หรืออยากไปดูงาน สนใจติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

ร้านปลอดสารพิษเอเดน 1311 ไวท์มอลล์ ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 (ติดโรงเรียนโยธินบูรณะ)
บจก. อาช่าไทย อินเตอร์เนชั่นแนล 599/330 หมู่บ้านกลางกรุง-เวียนนา ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กรงเทพฯ 10900 โทร. 02-587-4607, 02-587-4616

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงหอยทากอาช่า : วิลล่าเอเดน ออแกนิครีสอร์ท 177/1 ซ.สาริกา-นางรอง 42 ตรงข้ามโรงเรียนบ้านดง ต.สาริกา อ.เมืองนครนายก โทร.081-306-4172, 081-375-0342
หรือ IG: acha_thai , Facebook: acha_thai , Line: @achathai

ขอบคุณรูปภาพและข้อจาก : www.touronthai.com


ถูกใจเพื่ออัพเดททุกเรื่องเด็ด
บอกต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนคุณ

About เรื่องเด็ดเจ็ดย่านน้ำ

ขอบคุณทุกเรื่องเด็ด และเรื่องราวดีๆ จากทุกแง่มุมในสังคม เราจะหามาแชร์และส่งต่อให้เพื่อนบนโลกโซเชียลได้รับรู้ รับทราบกันอย่างทั่วถึง คุณเองก็สามารถทำได้ "กดแชร์" เรื่องเด็ดที่คุณชอบเลยสิ!